เรียกได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากที่สุดของการทำ SEO เลยก็ว่าได้ กับ “การทำคีย์เวิร์ดรีเสริช (Keyword Research)” เพราะการทำคีย์เวิร์ดรีเสริช (และนำคีย์เวิร์ดที่ได้ไปปรับใช้) นั้นเป็นตัวช่วยพาเว็บไซต์ของเราให้ไปปรากฎอยู่ในผลการค้นหา ทำให้ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายเจอเราบน Google
การจะเจอคีย์เวิร์ดที่กลุ่มเป้าหมายของเราใช้ค้นหาบน Google นั้นไม่ทำได้ไม่อยาก เพียงแต่ต้องมีเครื่องมือหรือโปรแกรมเข้ามาช่วยด้วย วันนี้โนเรียรวบรวมคัดสรรเอาโปรแกรมค้นหา Keyword ที่ดีที่สุด 8 โปรแกรม ซึ่งล้วนแต่เป็นโปรแกรมที่ทีมงานของเราเคยใช้งานมาแล้วทั้งนั้นค่ะ ตัวไหนดีมีข้อดีข้อด้อยต่างกันยังไง ตัวไหนเหมาะกับมือใหม่ ลองมาดูกันเลย!
โปรแกรมหา Keyword แบบจ่ายเงินสำหรับมือโปร
มาเริ่มกันที่โปรแกรมหา Keyword ที่ดีที่สุดจากบริษัทดังในวงการ SEO กันก่อน เครื่องมือบางส่วนในลิสท์นี้นอกจากการหาคีย์เวิร์ดแล้ว ยังสามารถทำอะไรได้อีกมากมาย ทำให้เป็นที่นิยมสำหรับใช้งานในกลุ่มบริษัทดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งเอเจนซี่
SEMrush
SEMrush เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีผู้ใช้มากมายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเอเจนซี่ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง หรือธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ เมื่อพูดถึงเครื่องมือในการค้นหาคีย์เวิร์ดทุกคนจะนึกถึงเครื่องมือนี้เป็นอับดับแรกๆ จะว่าคร่ำหวอดอยู่ในวงการนานเป็น 10 ปีก็ด้วย แต่เหตุผลสำคัญจริงๆ ก็เพราะ SEMrush เป็นเครื่องมือที่ทำอะไรได้หลายอย่างมากจริงๆ
จุดเด่น:
- มีการประเมินเว็บไซต์แบบ Quick Analysis ให้เห็นถึงภาพรวม
- ช่วยเว็บไซต์คุณเห็นว่าคู่แข่งติดอันดับด้วยคีย์เวิร์ดไหน เพื่อให้คุณวิเคราะห์คีย์เวิร์ดที่ควรใช้ในการดึงอันดับของตัวเอง
- นอกจากจะเป็นเครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดแล้ว ยังสามารถติดตามอันดับของเว็บไซต์ เพื่อดูพัฒนาการคีย์เวิร์ดที่เว็บไซต์กำลังติดอันดับด้วยได้
- สามารถเปรียบเทียบข้อมูลอันดับคีย์เวิร์ดเชิงลึกของเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ทั้งใน Google Search, Google Ads และ Google Shopping ได้
- สามารถดูประวัติของอันดับคีย์เวิร์ดย้อนหลังได้
ราคา:
SEMrush มีแพลนแบบจ่ายเงิน 4 แพลน ดังนี้
- Pro – เริ่มต้นที่ $83 ต่อเดือน
- Guru – เริ่มต้นที่ $166 ต่อเดือน
- Business – เริ่มต้นที่ $333 ต่อเดือน
- Enterprise – เป็นแบบ custom plan ได้โดยตรงกับ SEMrush
SEMrush มีแบบ Trial ให้ลองใช้ฟรีกันได้ ถ้าใช้แล้วโดนใจค่อยซื้อแพลนในแบบที่เหมาะสมกับตัวเอง
Ahrefs
ใครที่วนเวียนอยู่ในวงการดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งจะต้องคุ้นหูคุ้นตากับเครื่องมือที่มีชื่อโดดเด่นไม่เหมือนใครอย่าง Ahrefs (อ่านว่า เอชเรฟส์ หรือ เอเอชเรฟส์ ก็ได้) แน่ๆ เพราะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดติดอันดับต้นๆ มีฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเครื่องมือแบบจ่ายเงินทั้งหมด เพราะมีข้อมูลคีย์เวิร์ดมากถึง 5.1 พันล้านคีย์เวิร์ด เก็บข้อมูลจากใน 200 ประเทศ ได้รับความไว้วางใจจากเอเจนซี่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะมากเป็นพิเศษสำหรับคนทำคอนเทนต์
จุดเด่น:
- คะแนนความยากของคีย์เวิร์ด หรือ Keyword Difficulty มีความเที่ยงตรงสูงมาก
- นอกเหนือจากข้อมูลจำนวนเสริชต่อเดือน (Search Volume) เครื่องมือนี้ใช้การเก็บข้อมูลที่ไม่เหมือนใคร เพื่อเน้นนำเสนอข้อมูล Click Metrics ซึ่งเป็นตัวชี้วัดฉบับของ Ahrefs ให้เราดูประกอบการพิจารณาเลือกคีย์เวิร์ด
- มีเครื่องมีที่ชื่อว่า Content Gap ช่วยวิเคราะห์ว่าเว็บของคุณ ยังสามารถทำคอนเทนต์ใดได้อีก เพื่อแข่งขันกับเว็บของคู่แข่ง
- มีฟีเจอร์ใกล้เคียงกับ SEMrush ตรงที่ช่วยติดตามอันดับของเว็บไซต์ สร้างโปรเจคได้สะดวกง่ายดาย เรียกว่าทำได้หลายอย่างในเครื่องมือเดียว
- เครื่องมือมีหน้าตาที่สวยงาม สะอาดสะอ้าน ใช้งานง่ายมาก
ราคา:
- เริ่มต้นที่ $99 ต่อเดือน สำหรับแพลนแบบ Lite
Ahrefs มีแบบ Trial ให้ลองใช้ฟรีกันได้ ถ้าใช้แล้วโดนใจค่อยซื้อแพลนในแบบที่เหมาะสมกับตัวเอง
Moz Keyword Explorer
บริษัทนี้เรียกได้ว่าคร่ำหวอดอยู่ในวงการ SEO มานานกว่าใครเพื่อน มีเครื่องไม้เครื่องมือเจ๋งๆ ที่ช่วยให้นักการตลาดที่ทำงานด้านนี้สะดวกสบายมากขึ้นมานักต่อนัก และเครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดอย่างเจ้า Moz Keyword Explorer ก็เป็นหนึ่งในนั้น
หมายเหตุ: เครื่องมือนี้จะเน้นเฉพาะการค้นหาคีย์เวิร์ด แต่ไม่ได้มีฟีเจอร์ที่จะช่วยจัดการหรือติดตามคีย์เวิร์ดแบบเครื่องมือที่กล่าวไปข้างต้นอย่าง SEMrush และ Ahrefs
จุดเด่น:
- นำเสนอข้อมูลเชิงลึกของคีย์เวิร์ดโดยเน้นที่คะแนน Organic CTR (Organic Click Through Rate) กับคะแนน Priority ที่เป็นการผสมผสานข้อมูลจำพวกอัตราการคลิก (CTR) คะแนนความยากของคีย์เวิร์ด (Keyword Difficulty) และจำนวนคนเสริชต่อเดือน (Search Volume) เพื่อให้ได้ชุดคีย์เวิร์ดที่น่าสนใจที่สุดออกมา
- สามารถหาคีย์เวิร์ดผ่าน URL ของเว็บไซต์ได้ คล้ายๆ กับเครื่องมือสองอันก่อนหน้านี้
- มีเครื่องมือ Keyword Suggestions พร้อมการ Filter ที่จะช่วยให้การค้นหาคีย์เวิร์ดทำได้สะดวกมากขึ้น
- สามารถค้นหาฟรีได้ 10 ครั้งใน 1 เดือนสำหรับคนที่ใช้บัญชีแบบฟรี
ราคา:
- เริ่มต้นที่ $99 ต่อเดือน สำหรับแพลนแบบ Standard
Moz Keyword Explorer มีแบบ Trial ให้ลองใช้ฟรีกันได้ 1 เดือนเต็ม
KWFinder
เครื่องมือนี้ก็เหมือนกับ Moz Keyword Explorer ตรงที่เน้นการค้นหาคีย์เวิร์ดโดยเฉพาะ ไม่ได้มีฟีเจอร์ในการดูแลหรือติดตามและพัฒนาการของอับดับใน Google แน่นอนว่าถ้าเทียบกับเครื่องมืออื่นๆ ข้างต้น KW Finder ดูจะเป็นน้องใหม่ที่ตลาด ไม่ได้เก๋าเกม หรืออยู่มานานแบบใคร แต่ก็นับเป็นบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเครื่องมือที่ให้บริการนั้นดีจริง
จุดเด่น:
- มีตัวเลือกให้หาแบบ Question-based Keyword Research เพื่อให้ง่ายต่อการหาคำถามที่ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายของคุณสนใจจริงๆ
- ง่ายต่อการหา Long Tail Keywords
- หน้าตาของเว็บสามารถใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
- สามารถใช้งานได้ฟรีได้ แต่จำกัดจำนวนครั้ง
- ใช้งานได้ในราคาที่เอื้อมถึง
ราคา:
- Basic – $29.90 ต่อเดือน
- Premium – $39.90 ต่อเดือน
- Agency – $79.90 ต่อเดือน
KWFinder มีแบบ Trial ให้ลองใช้ฟรีกันได้นาน 10 วัน
โปรแกรมหา Keyword แบบฟรีที่ดีที่สุด
ต่อไปมาดูกันที่โปรแกรมหา Keyword แบบที่ใช้งานได้ฟรีกันดูบ้าง ของฟรีและมีคุณภาพมีอยู่จริงๆ แถมเครื่องมือบางอันในนี้ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจาก Google เอง ทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือสูงมาก
Google Keyword Planner
เครื่องมือนี้เป็นของ Google โดยตรงที่ผูกอยู่กับบัญชีการใช้งาน Google Ads (หรือที่เมื่อก่อนเรียกว่า Google Adwords) ทำให้มั่นใจในความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้ และก็เป็นเครื่องมือที่เหล่านักการตลาดออนไลน์ใช้กันมานานก่อนที่จะมี tools ใหม่ๆ ผุดขึ้นมาให้เลือกกันไม่หวาดไม่ไหวอย่างในปัจจุบันนี้
จุดเด่น:
- เหมาะกับสำหรับคนที่เพิ่มเริ่มต้น ยังไม่มีงบที่จะลงทุนในเครื่องมือที่ Advanced เจ้าตัว Google Keyword Planner ถือเป็นเครื่องมือระดับ Advanced ที่เปิดให้ใช้ได้ฟรี
- มีข้อมูลจำนวนการค้นหาต่อเดือนที่แม่นยำ (Search Volume)
- สามารถใช้งานได้ฟรีได้ แต่การแสดง Search Volume ของบัญชีผู้ใช้ที่ไม่ได้มีการสร้างและใช้งานแคมเปญ Ads อยู่จะแสดงผลเป็น Range แทนที่ตัวเลขแบบเป๊ะๆ
ราคา:
- ฟรี
Google Trends
เครื่องมือนี้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือจาก Google โดยตรงที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้ฟรี แน่นอนว่าพอมาจาก Google คะแนนความน่าเชื่อถือก็ได้ไปเต็ม ตามชื่อเครื่องมือเลยก็คือจะจำเพาะเหมาะสำหรับการดูเทรนด์ของการเสริชหามากกว่าเครื่องมือแบบอื่นๆ ที่จะเป็นการเสริชแบบทั่วไปมากกว่า
จุดเด่น:
- เหมาะกับการค้นหาข้อมูลแบบเป็นคำๆ มากกว่าเป็นกรุ๊ป สามารถนำคำค้นหาหรือคีย์เวิร์ดที่ต้องการมาเปรียบเทียบความนิยมกันได้ โดยคะแนนความนิยมจาก 1-100 (100 คือความนิยมสูงสุด)
- สามารถค้นหาข้อมูลโดนเจาะลึกไปที่ภูมิภาค/เขตได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งสามารถเจาะลึกว่าเป็นการค้นหาผ่านอุปกรณ์อะไร
- มีลักษณะเป็นกราฟแบบ Responsive เห็นภาพชัดเจน
- แม้ Google Trends จะไม่มีข้อมูลจำพวก Keyword Difficulty หรือ CTR แบบเครื่องมืออื่นๆ แต่จะมีสรุปให้ด้วยว่า ณ ขณะนั้น คำเสริชอะไรที่กำลังเป็นเทรนด์อยู่บน Google ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เครื่องมืออื่นไม่มี
ราคา:
- ฟรี
Answer the Public
เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือดีๆ อีกหนึ่งอันที่เหมาะสำหรับการค้นหาคีย์เวิร์ดยาวหรือคีย์เวิร์ดแบบเป็นคำถาม (Long Tail Keywords) ได้ง่ายๆ จากการพิมพ์คีย์เวิร์ดแบบสั้นๆ ที่ต้องการลงไป
จุดเด่น:
- เหมาะสำหรับการค้นหาคีย์เวิร์ดแบบยาว คีย์เวิร์ดเชิงคำถาม ตามภูมิภาค ประเทศ และภาษา
- เหมาะสำหรับการค้นหาไอเดียกว้างๆ มากกว่าการค้นหาข้อมูลเชิงลึกแบบจริงจัง
- แบบฟรีนั้นจะค้นหาได้วันละไม่เกิน 3 ครั้ง
ราคา:
- ฟรี (แต่มีการจำกัดจำนวนครั้งในการเสริช) อยากอัปเกรดเริ่มต้นที่ $99 บาท
KeywordTool.io
เครื่องมือหน้าตาใช้งานง่ายมาก เพียงแค่เข้าไปหน้าเว็บก็สามารถเริ่มใช้งานได้เลย หน้าตาของข้อมูลที่ได้ออกมานั้นเรียกได้ว่าแทบไม่ต่างจากข้อมูลของเครื่องมือดีๆ อย่าง Google Keyword Planner เลย
จุดเด่น:
- เหมาะกับการค้นหาคีย์เวิร์ดแบบที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดนั้นๆ เยอะๆ
- ใช้งานง่ายมาก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น (ง่ายกว่า Google Keyword Planner)
- เหมาะสำหรับใครที่อยากค้นหาข้อมูลคีย์เวิร์ด โดยแยกตามชนิดของเสริชเอนจิ้น เช่น Google, Bing, Yahoo, Youtube เป็นต้น
- เหมาะสำหรับใครที่อยากค้นหาข้อมูลคีย์เวิร์ด โดยแยกตามชนิดของแพลตฟอร์ม เช่น Amazon, App Store, Instagram เป็นต้น
ราคา:
- ฟรี (แต่ก็ไม่ทั้งหมด) อยากอัปเกรดเริ่มต้นที่ $69 บาท
สรุป
- โปรแกรม/เครื่องมือทำได้หลายอย่างครอบจักรวาล – SEMrush
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เหมาะสำหรับมือใหม่ – KeywordTool.io
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เหมาะสำหรับมือใหม่ และฟรี – Google Keyword Planner (หน้าตาโปรแกรมใช้งานยากกว่า KeywordTool.io เล็กน้อย เพราะต้องเข้าผ่านบัญชีผู้ใช้งาน Google Ads)
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เหมาะสำหรับคนทำคอนเทนต์มืออาชีพ – Ahrefs
- โปรแกรม/เครื่องมือที่ราคาถูกที่สุด (ไม่นับแบบฟรี) – KwFinder
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เน้นการค้นหาคีย์เวิร์ดบนหลายแพลตฟอร์ม – KeywordTool.io
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เน้นการดูเทรนด์การเสริช – Google Trends
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เน้นการหาคำถามและ Long Tail Keywords – KwFinder, Answer The Public
การรีวิวโปรแกรม/เครื่องมือในการค้นหา Keyword ที่ดีที่สุด ยังไม่จบเพียงเท่านี้ โนเรียเชื่อว่ายังมีเครื่องมือในการทำคีย์เวิร์ดรีเสริชดีๆ อีกมากมายในท้องตลาดที่เรายังไม่ได้เอ่ยถึงในลิสท์ โนเรียจะค่อยๆ ทยอยนำมาอัปเดตให้ฟังกันอีกทีหนึ่งนะคะ
สำหรับใครที่อยากปรับปรุงเว็บไซต์ให้ SEO-friendly แต่ไม่มีเวลาทำเอง และกำลังมองหาแพ็คเกจ SEO ราคาสมเหตุสมผลในยุคเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองแบบนี้ ลองติดต่อมาคุยกับทีมงานของเราดูนะคะ พวกเราเชี่ยวชาญการทำ SEO เพื่อดึงอันดับและเพิ่ม Traffic ให้กับลูกค้า นอกจากนี้ เรายังสามารถปรับเพิ่ม-ลดงบของแคมเปญ SEO ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อีกด้วย