SEO

เริ่มต้นเข้าใจ Core Web Vitals เรื่องสำคัญของการจัดอันดับเว็บไซต์

Jutamas Lampech | พฤศจิกายน 22, 2023

Fast To Read

ทุกคนอาจจะทราบอยู่แล้วว่า หากต้องการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับด้วยกลยุทธ์ SEO เราควรให้ความสำคัญกับการเขียนคอนเทนต์และการใช้คีย์เวิร์ด เพื่อให้อัลกิริทึมของ Google สามารถเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์และดันอันดับการค้นหาขึ้นไปในหน้าแรกๆ แต่รู้หรือไม่ว่า การวัดคุณภาพของเว็บไซต์โดย Google ไม่ได้โฟกัสแค่เพียงคอนเทนต์เท่านั้น เพราะ ‘Core Web Vitals’ เอง ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ถูกนำมาเป็นปัจจัยในการจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google เช่นกัน และสำหรับใครที่ทำงานเกี่ยวกับ SEO โดยตรงก็อยากจะชวนมามุงทางนี้ เพราะไม่เพียงแค่ต้องทำความรู้จักกับ Core Web Vitals เท่านั้น แต่หนึ่งในองค์ประกอบของ Core Web Vitals อย่าง FID กำลังจะถูกแทนที่ด้วยระบบใหม่ที่เรียกว่า INP ในเดือนมีนาคม 2024 นี้แล้ว เพราะฉะนั้น ตามทำไปความรู้จักกับ Core Web Vitals และการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กันค่ะ

Core Web Vitals คืออะไร

CORE WEB VITALS คืออะไร?

Core Web Vitals คือชุดเมตริกที่เป็นเครื่องมือหนึ่งของ Google สำหรับใช้เพื่อวัดมาตรฐานและคุณภาพของเว็บไซต์ ในแง่ประสบการณ์ของผู้ใช้ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า User Experience (UX) นั่นเองค่ะ ซึ่ง Core Web Vitals จะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักๆ ที่จะนำมาใช้ชี้วัดประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้งานคือ Largest Contentful Paint (LCP), First Input Delay (FID) และ Cumulative Layout Shift (CLS) โดยทั้ง 3 องค์ประกอบเหล่านี้ จะถูกนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการจัดอันดับ SEO นั่นเอง

3 องค์ประกอบของ Core Web Vitals

CORE WEB VITALS คืออะไร?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Core Web Vitals จะใช้องค์ประกอบทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกันในการประเมิน User Experience นั่นก็คือ

1. Largest Contentful Paint (LCP)

Largest Contentful Paint (LCP) เป็นตัววัดค่าความเร็วในการโหลดเนื้อหา คิดอ้างอิงจากชุดคอนเทนต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหน้าเพจนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหา ภาพประกอบ วีดีโอ หรือแบนเนอร์ต่างๆ ซึ่งทาง Google ได้กำหนดมาตรฐานของ LCP ไว้ว่า ค่า LCP ที่ดี เนื้อหาทั้งหมดควรใช้เวลาโหลดไม่เกิน 2.5 วินาที นับตั้งแต่เว็บไซต์ถูกเปิดขึ้นมา และถ้าหากเกินกว่า 4 วินาทีก็ถือว่า LCP ของเว็บไซต์เข้าขั้นแย่เลยทีเดียว 

2. First Input Delay (FID) 

First Input Delay (FID) เป็นการวัดระยะเวลาในการตอบสนอง (Interactive) ของคำสั่งต่างๆ ระหว่างผู้ใช้งานกับตัวเว็บไซต์ เช่น พอกดปุ่มเมนูแล้วหน้าที่เราต้องการไปโหลดเร็วแค่ไหน โดยค่ามาตรฐาน FID ที่ Google กำหนด ไม่ควรใช้ระยะเวลาตอบสนองเกิน 0.1 วินาที และถ้าหากใช้เวลาในการตอบสนองมากเกิน 0.3 วินาที ก็จะถือว่าตกไปอยู่ในโซนแย่เลยค่ะ และอย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่า ในเดือนมีนาคม ปี 2024 เป็นต้นไป ทาง Google จะมีการนำ Interaction to Next Paint หรือ INP มาใช้งานแทน FID กันแล้ว เราเลยจะพาไปทำความรู้จักกับ INP เพิ่มกันค่ะ

    • Interaction to Next Paint (INP) เป็นเมตริกของ Core Web Vitals ตัวใหม่ ที่จะมาแทน FID ซี่งจะประเมินการตอบสนองโดยรวมของหน้าเว็บต่อการโต้ตอบของผู้ใช้งาน โดยจะคิดจากการโต้ตอบที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นตลอดอายุการเข้าชมหน้าเว็บไซต์ของผู้ใช้ ซึ่งค่า INP สุดท้าย คือการโต้ตอบที่ยาวนานที่สุดนั่นเอง 

ส่วนสาเหตุที่เปลี่ยนการประเมินการตอบสนองจากรูปแบบ FID มาเป็น INP นั่นก็เพราะว่าหากเราพิจารณาถึง Interactions ของผู้ใช้ต่อเว็บไซต์ จะสามารถแยกได้ 3 รูปแบบคือ input delay, processing time และ presentation delay แต่ FID จะประเมินการตอบสนองจากแค่ input delay เท่านั้น (ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณคลิกลิงค์หรือกดปุ่ม) แต่ไม่ได้พิจารณาในแง่ของ processing time หรือ presentation delay ควบคู่กันไปด้วย ซึ่ง INP เอง จะพิจารณาทั้ง 3 ส่วน เรียกได้ว่าเป็นการประเมินที่ครอบคลุมและแสดงผลในค่าที่ถูกต้องกว่านั่นเอง และ Google เองได้กำหนดค่ามาตรฐานของ INP ไว้ที่ น้อยกว่า 0.2 วินาที และไม่ควรเกิน 0.5 วินาทีค่ะ 

3. Cumulative Layout Shift (CLS) 

Cumulative Layout Shift (CLS) เป็นการชี้วัดเสถียรภาพของการจัดวาง Layout ในหน้าเว็บไซต์ ว่าเว็บไซต์เรามีความเคลื่อนไหวได้มากแค่ไหนหรือกระตุกหรือไม่ เช่น ดีไซน์ขยับ ข้อความเลื่อน ขนาดฟอนต์ไม่เหมาะสม ปุ่มกดขนาดเล็กเกินไป โดยจะพิจารณาจากระยะทางและขนาดของ element ที่เลื่อนไป ซึ่งทาง Google ได้กำหนดขอบเขตของ CLS ไว้ที่ 0.1 ที่หมายถึงมีประสิทธิภาพดีและมากกว่า 0.25 ที่ถือว่าอยู่ในโซนแย่ค่ะ 

เราจะตรวจสอบและปรับปรุง Core Web Vitals ได้อย่างไร

CORE WEB VITALS คืออะไร?

ก่อนที่จะปรับปรุง ก็ต้องมาตรวจสอบกันก่อนว่าเว็บไซต์ของเรามีค่า Core Web Vitals เป็นอย่างไร ซึ่งสำหรับข้อนี้ เราสามารถใช้เครื่องมือฟรีจาก Google อย่าง Google Search Console หรือ Page Speed Insight ในการตรวจสอบได้เลย เช่น Page Speed Insight ที่เพียงแค่ใส่ URL เว็บไซต์ลงไป ระบบก็จะประมวลผลค่า Core Web Vitals ทั้ง 3 องค์ประกอบให้เสร็จสรรพ ซึ่งหากค่าที่ประเมินออกมาอยู่ในโซนสีส้มเป็นต้นไป โดยเฉพาะถ้าตกไปอยู่โซนสีแดง หมายถึงว่า เราควรปรับปรุง Core Web Vitals อย่างเร่งด่วนค่ะ ซึ่งการปรับปรุงในองค์ประกอบต่างๆ สามารถทำได้โดย

  • การปรับปรุงความเร็วในการโหลดเนื้อหา: ควรลดขนาดไฟล์องค์ประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์ เช่น ภาพ หรือวีดีโอให้มีขนาดเล็กลง หรือการลบ Script ฟังก์ชั่นต่างๆ จากด้านนอกเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลด
  • การปรับปรุงการตอบสนองเว็บไซต์: ควรลบ JavaScript ที่ไม่ได้ใช่งานออก รวมถึง Plug-in ต่างๆ จากภายนอก และการลดขนาดไฟล์ของมีเดียต่างๆ 
  • การปรับปรุงความเสถียรของหน้าเว็บไซต์: ควรตรวจสอบการแทรกรูปภาพในเนื้อหา รวมถึงการเปลี่ยนขนาดฟอนต์ในเว็บไซต์

บทสรุป

จะเห็นได้ว่า การจัดอันดับเว็บไซต์เองก็ต้องพึ่งพาหลายๆ ปัจจัยควบคู่กันไป และ Core Web Vitals เองก็สำคัญไม่แพ้กัน นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมคนทำ SEO หรือคนทำเว็บไซต์ จำเป็นต้องอัพเดทเทรนด์ และอัลกอริทึมของ Google รวมถึงวิธีการวัดผล SEO อยู่เสมอค่ะ

Written By

Jutamas Lampech
เมย์เริ่มงานสาย Online Marketing มาได้มาได้มากกว่า 3 ปีแล้ว และยังคงศึกษางาน SEO และ Online Marketing ต่อไป ด้วยเป็นเด็กสายวิทย์ที่ชอบการอ่านมากกว่าฟัง ชอบวิเคราะห์ มีความขี้สงสัยและต้องค้นหาเหตุผลให้เจอ ยังคงหลงใหลในศิลปะการทำอาหาร สุดท้ายแล้วขอให้แมวจรทุกตัวมีบ้านค่ะ

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Views

Get New Articles Monthly!

Recommend Article

Free SEO
Consultation

Claim your revenue growth strategy session valued at ฿35,000 – absolutely FREE!

Limited spots available !

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.