SEO

ปลั๊กอิน Yoast SEO คืออะไร สอนการใช้งานแบบเข้าใจง่าย

Pannakan Warawattananon | สิงหาคม 30, 2023

Fast To Read

ใครก็ตามที่เริ่มทำเว็บไซต์เป็นของตัวเองแล้วสนใจเรื่อง SEO จะต้องเคยได้ยินเกี่ยวกับปลั๊กอินที่ชื่อ Yoast SEO กันมาบ้าง ปลั๊กอินตัวนี้อาจจะไม่ได้ใช้ยากอะไรมาก แต่สำหรับมือใหม่ อาจจะไม่เข้าใจว่าต้องติดตั้งและใช้ยังไง รวมไปจนถึงไม่เข้าใจว่าทำไมต้องติดตั้งด้วย วันนี้เราจะมาแนะนำทุกเรื่องตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น มาดูไปพร้อมๆ กันเลย

Yoast SEO คืออะไร

Yoast SEO คือ ชื่อของปลั๊กอินยอดฮิต หรือส่วนเสริมบน WordPress ตัวหนึ่งที่ทุกคนสามารถใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (หรือใครที่อยาก Advanced สุดๆ อยากใช้ Premium แบบจ่ายเงินก็ได้เหมือนกัน) ใครๆ ที่สร้างเว็บไซต์จาก WordPress ล้วนสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ทั้งนั้น

Yoast SEO ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับแต่งองค์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญสำหรับการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณจะได้ติด Search Engine อย่าง Google หรือ Search Engine อื่นๆ ได้ง่ายขึ้น

แต่อย่าหลงเข้าใจผิดคิดว่าติดตั้ง Yoast SEO แล้วอันดับจะดีขึ้นทันทีนะคะ Yoast SEO เป็นเพียงปลั๊กอินที่เหมือนตัวช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น แต่ไม่ได้มีผลกับอันดับใน Google เลย ถ้าใครคิดว่าติดตั้งปุ๊บอันดับจะต้องดีขึ้น เข้าใจผิดแล้วค่ะ ไม่มีเครื่องมือวิเศษแบบนั้นอยู่บนโลกหรอกค่ะ สุดท้ายแล้วการทำ SEO ก็ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจที่สั่งสมมาเพื่อลงมือทำ เครื่องมือต่างๆ เพียงช่วยอำนวยความสะดวกเท่านั้นเอง


ประโยชน์ของ Yoast SEO คืออะไร ทำไมต้องมี

เอาหล่ะ รู้จัก Yoast SEO กันไปแล้วในฐานะตัวช่วยตัวสำคัญในการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อผลของ SEO ที่ดีขึ้น ทีนี้เรามาดูประโยชน์ของเจ้า Yoast SEO กันดีกว่า ว่าทำไม๊ทำไมถึงได้เป็นปลั๊กอินยอดฮิตที่กูรู SEO ทุกสำนักต่างพูดถึงและให้ความสำคัญ

1. Yoast SEO มีฟีเจอร์ที่ช่วยการตั้งค่า Technical SEO ต่างๆ

หากใครที่ยังไม่เคยอ่านบทความดีๆ จากหนึ่งในผู้ก่อตั้งเสิร์ชสตูดิโอของเราว่าด้วยเรื่อง SEO คืออะไร ลองกดตามลิงก์เข้าไปอ่านกันดูนะคะ เขียนไว้ละเอียดและเข้าใจง่ายมากๆ โดยในบทความได้กล่าวถึง Technical SEO ไว้ด้วย นั่นเพราะ Technical SEO เป็นหนึ่งในส่วนย่อยที่สำคัญของการทำ SEO ค่ะ สนใจบริการ Technical SEO คลิกเลย!

ในการปรับแต่งเพื่อ SEO ในแต่ละครั้งกับแต่ละเพจก็จะมีรายละเอียดเชิงเทคนิคที่อาจจะต้องระวังแตกต่างกันไป ทำให้เราอาจจะเผลอมองข้ามบางจุดไปได้ ดังนั้นตรงนี้แหละที่ Yoast SEO จะเข้ามาช่วยเรา

ถ้าให้สรุป key points สั้นๆ เลยก็สรุปได้ว่า Yoast SEO ช่วยในเรื่อง Technical ดังต่อไป

  • ช่วยเราใส่ canonical URLs ซึ่งจะเป็นตัวที่สื่อสารกับ Search Engine ว่าเราต้องการให้ Google สนใจลิงก์ไหนหรือเพจไหน
  • ช่วยเราใส่ rel=next / rel=prev ในทุกๆ ที่ที่มันควรอยู่
  • ช่วยเราใส่ OpenGraph tags กับทุกๆ URL

จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายอย่าง แต่รวมๆ ก็คือ Yoast SEO จะช่วยในเรื่องพวกเทคนิคที่เราอาจจะไม่เข้าใจในช่วงแรกๆ ของการทำ SEO เราก็สามารถวางใจในส่วนนี้ลงไปได้

2. Yoast SEO ช่วยให้คอนเทนต์มีคุณภาพและเป็นมิตรกับ SEO

การจะทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพอาจจะทำได้ง่ายโดยการจ้างนักเขียนดีๆ มาเขียนบทความที่เต็มไปด้วยเนื้อหาดีๆ ให้คุณ (หรือลงมือเขียนเอง) แต่การเขียนบทความดีๆ ไม่ได้จบแค่การได้บทความดีๆ มาโพสบนเว็บหรอกนะ ถ้าจะทำให้บทความดีๆ บทความนั้นเป็นมิตรกับ SEO ติดอันดับง่ายขึ้น เพื่อเข้าถึงผู้อ่านที่กว้างขึ้น ต้องมีการปรับแต่งต่างๆ เข้ามาเสริมด้วย

Yoast SEO จะเป็นตัวช่วยที่บอกเราว่าเราต้องปรับแต่งตรงไหนบ้าง เช่น ต้องมี Keyword มากกว่านี้นะ หรือแม้แต่มี Keyword เยอะเกินไปแล้วนะ แล้วควรมี Keyword ตำแหน่งไหนบ้าง ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อให้บทความของเราเป็นมิตรกับ Google ที่สุด

Yoast SEO จะแสดงไฟสัญญาณเป็นสีเขียว ส้ม และแดง ซึ่งไฟสัญญาณเขียวหมายถึงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่ต้องการการปรับเปลี่ยนแล้ว

3. Yoast SEO ปรับปรุงให้คอนเทนต์น่าอ่านมากขึ้น (Readability สูงขึ้น)

บทความที่ดีที่เต็มไปด้วยสาระความรู้ อาจจะไม่ใช่บทความที่น่าอ่านที่สุด บทความที่มีสาระหลายบทความอาจจะยาวเกินไป เขียนยืดเยื้อเกินไป เว้นวรรคไม่น่าอ่าน รูปน้อยเกินไป ไม่มีจังหวะให้คนอ่านพักสายตา ทำให้อยากจะเลิกอ่านไปซะดื้อๆ 

ซึ่ง Yoast SEO จะเข้ามาช่วยปรับแต่งในส่วนนี้ ตัวปลั๊กอินจะคอยบอกเราว่าบทความเราน่าอ่านมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่เราจะได้ปรับแก้ให้ทุกจุด ให้บทความน่าอ่านมากขึ้น ยิ่งถ้าเราเขียนเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ ตัวปลั๊กอินจะช่วยดูเลยนะว่าใช้ Passive voice เยอะไปไหม รูปประโยคยาวไปนะ เข้าใจยาก ทั้งหมดก็เพื่อให้บทความเรามีลักษณะที่อ่านง่ายแบบสุดๆ เท่าที่จะทำได้ เพื่อที่จะได้ไม่โดนคนอ่านทิ้งไปกลางคันกันซะก่อน

Yoast SEO จะแสดงไฟสัญญาณเป็นสีเขียว ส้ม และแดง ซึ่งไฟสัญญาณเขียวหมายถึงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่ต้องการการปรับเปลี่ยนแล้ว

การดาวน์โหลดและการตั้งค่าเบื้องต้น

การดาวน์โหลด Yoast SEO

1. ไปที่ Plugin

2. กด Add new

3. ค้นหาปลั๊กอินด้วยคำว่า Yoast SEO

4. กด Install Now

5. กด Activate เพื่อให้ปลั๊กอินเข้าสู่โหมด Active เป็นการสิ้นสุดการติดตั้ง


การตั้งค่า Yoast SEO เบื้องต้น

1. Navigate ไปที่ Yoast SEO

2. เลือก General (คุณจะเข้าสู่ Dashboard หรือหน้าควบคุมของปลั๊กอินตัวนี้ซึ่งถ้าคุณซื้อ Premium ก็จะมีอะไรให้ทำและตั้งค่าได้อีกเยอะ แต่ถ้าใช้แบบฟรีก็ไม่เป็นไรนะ เพราะแบบฟรีเองก็เพียงพอกับการใช้งานในเบื้องต้น)

3. เลือก Features (ตรงนี้จะเป็นส่วนตั้งค่าที่ให้เราเลือกว่าเราอยากให้ปลั๊กอินช่วยเราดูแลในส่วนไหนบ้าง ส่วนไหนที่ไม่อยากให้ช่วยดูหรือเตือน เราก็สามารถเลือกปิดได้ แต่เราจะแนะนำให้เลือกเปิดทุกอันนะ)


วิธีใช้ Yoast SEO หาจุดบกพร่องเป็นเว็บ

1. วิธีแรกคือการดูหน้า Overview ภาพหน้า Dashboard หน้าแรกของ WordPress โดยให้เราไปที่หน้าแรก หน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์อาจจะมีหน้าตาต่างกันขึ้นอยู่กับการตั้งต่าและปลั๊กอินที่เราโหลดมาใช้ แต่ให้เราลองเลื่อนหาส่วนที่เป็น Yoast SEO Overview ที่มีหน้าตาแบบนี้ดูกัน

ส่วน Overview ตรงนี้จะเหมือนเป็นข้อมูลภาพรวมให้เราดูว่าเพจและโพสต่างๆ บนเว็บไซต์ของเราเป็นยังไงบ้าง ปรับแต่งไว้เป็นมิตรกับ SEO มากแค่ไหน ยังปรับปรุงเพจไหนได้อีกบ้าง 

ตัวอย่างเช่น จากรูปข้างบนจะเห็นว่ามีโพส 9 โพสที่ปรับแต่งได้อยู่ในระดับที่ OK พอรับได้ (สีส้ม) มี 6 โพสที่ปรับแต่งอยู่ในระดับดี (สีเขียว) มี 7 โพสที่ยังไม่มีการระบุ Keyword ที่ต้องการโฟกัส เป็นต้น

เมื่อเราเห็น Overview แบบนี้ก็จะง่ายต่อการที่เราจะเข้าไปปรับปรุงโพสเพื่ออุดช่องโหว่ต่างๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผล SEO เราดีขึ้นได้

2. ดูผ่าน Dashboard ของปลั๊กอิน โดยการไปที่ Yoast SEO > General นั่นเอง ซึ่งหน้านั้นจะมีบอกว่าตัวปลั๊กอินตรวจเจอปัญหาอะไรที่ควรแก้ไขแบบเร่งด่วนไหม (ตามภาพจะพบว่าไม่มี แต่ถ้าปลั๊กอินเจอปัญหาในเว็บของคุณ ก็อย่าลืมแก้ไขกันนะคะ)


ปรับแต่งผ่าน Yoast SEO แบบขั้นพื้นฐานง่ายๆ ทีละขึ้นตอน

1. เริ่มต้นเลยคือ ทุกโพสต้องมีคำที่เป็น Keyword ที่ต้องการจะโฟกัส 1 คำ โดยคำที่ต้องการโฟกัสที่ว่าหากกำหนดได้แล้วให้นำไปวางไว้ช่องตามภาพ 

โดยใช้หนึ่งในโพสของเราเป็นตัวอย่าง โดยเราจะเลือก Keyword ที่จะโฟกัสเป็นคำว่า “Backlink คืออะไร”

2. ต่อมาเรามาทำความเข้าใจในส่วนของชื่อเรื่องบทความกันก่อน ปกติแล้วในส่วนของ Title จะไม่ได้มีแค่ชื่อบทความเท่านั้น เราต้องเผื่อที่ไว้ให้ Site Title หรือชื่อเว็บไซต์เราไว้ด้วย 

เพราะฉะนั้น

  • ชื่อบทความที่เราตั้งจะต้องไม่ยาวเกินไปหรือสั้นเกินไป ต้องพิจารณาพื้นที่เผื่อ Site Title ด้วย (ในขณะที่กำลังปรับถ้าทุกอย่างพอดีแล้ว แถบข้างล่างจะขึ้นไฟสีเขียว ถ้ายาวเกินหรือสั้นเกินจะเป็นสีส้มหรือแดง)
  • ควรมีการวาง Keyword ที่เราจะโฟกัสไว้ในชื่อบทความด้วย จะเห็นว่าในตัวอย่างข้างบน “Backlink คืออะไร” เองก็อยู่ในชื่อบทความด้วยเลย

3. ควรมีการวาง Keyword ที่เราจะโฟกัสไว้ตรง url ของบทความด้วย ซึ่ง Yoast จะมีช่องให้เราปรับแต่ง URL ตามที่เราต้องการได้เช่นกัน (ตามรูป)

ตามตัวอย่างข้างบนถ้า Keyword ที่เราจะโฟกัสคือคำว่า “Backlink คืออะไร” เราก็ควรมีคำว่า “Backlink คืออะไร” อยู่ใน URL แต่เพื่อเหตุผลด้านความสวยงาม เราจะไม่ใช่ภาษาไทยใน URL เราจึงใส่แค่คำว่า Backlink เข้าไปตามภาพ 

4. ควรมีการวาง Keyword ที่เราจะโฟกัสไว้ใน Meta Description ด้วย

สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าช่องนี้มีไว้ทำอะไร ช่องนี้มีไว้ให้เราใส่ประโยคสั้นๆ เพื่อสื่อสารกับคนที่จะผ่านมาเจอเราใน Google ว่าบทความเราเกี่ยวกับอะไร ต้องเขียนให้กระชับพอดี (ถ้าพอดีจะขึ้นไฟสีเขียว)

ตามตัวอย่างข้างบนถ้า Keyword ที่เราจะโฟกัสคือคำว่า “Backlink คืออะไร” เราก็ควรมีคำว่า “Backlink คืออะไร” อยู่ใน Meta Description ซึ่งราปรับแต่งคำอธิบายตรงนี้ได้ตามใจชอบ อย่าลืมให้ไฟสีเขียวก็พอ

5. ควรมีการวาง Keyword ที่เราจะโฟกัสที่ย่อหน้าแรก (First paragraph) ของบทความ

6. ความยาวเนื้อหาจะต้องไม่น้อยไปกว่า 300 คำ ซึ่งตรงนี้ไม่มีปัญหาอยู่แล้วเพราะส่วนใหญ่น่าจะเขียนเกินกว่านี้แน่นอน เพราะถ้าไม่เกิน 300 คำก็แทบจะไม่มีเนื้อหาอะไรเลย จริงไหม

7. สัดส่วนของ Keyword ที่เราจะโฟกัส เมื่อเทียบกับปริมาณตัวหนังสือ (Text) ทั้งหมดในบทความ ไม่ควรเกิน 2.5 % และไม่ควรน้อยกว่า 0.5% แต่เราไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งนับหรือคำนวณเองนะ เพราะถ้าปริมาณ Keyword พอดีแล้วเดี๋ยว Yoast SEO ก็จะขึ้นสีเขียวให้เอง

ไฟสัญญาณจะบอกเราเองว่าเราต้องเพิ่มหรือลดจำนวน Keyword ถ้าเยอะไปเราก็ต้องอ่านทวนเพื่อตัด Keyword หรือเลี่ยงไปใช้คำอื่นแทน เช่นเดียวกัน ถ้า Keyword น้อยไปก็ต้องพยายามหาที่แทรก Keyword เข้าไป

ในตัวอย่างข้างบนมี Keyword สองครั้งเมื่อเทียบสัดส่วนกับความยาวของบทความถือว่าพอดีก็เลยได้ไฟเขียวให้ผ่านนั่นเอง

8. ในโพสจะต้องมีหัวข้อย่อยที่เรียกว่า H2 (Subheading) ซึ่งจะทำให้บทความดูเป็นสัดส่วนและอ่านง่ายขึ้น และเมื่อเราใส่ Keyword ที่จะโฟกัสเข้าไปใน Subheading ก็จะเป็นผลดีกับ SEO อีกด้วย

9. ภายในบทความต้องมีทั้ง External links และ Internal links

External links : การลิงก์ไปยังเว็บภายนอกต่างๆ ซึ่งควรเป็นลิงก์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของบทความเราด้วย

Internal links : การลิงก์ไปยังเพจหรือโพสภายในเว็บไซต์ของเราเอง

10. ในทุกๆ โพสที่เราเขียน ยิ่งโพสยิ่งยาวมากแค่ไหน ยิ่งควรมีรูปภาพประกอบ เพื่อให้คนอ่านได้มีที่พักสายตา ทำให้บทความน่าอ่านมากขึ้นด้วย 

Yoast SEO จะเตือนให้เราใส่ Alt text ของรูปภาพ และถ้าจะให้ดีใน Alt text ควรมี Keyword ที่เราจะโฟกัสในนั้น

11. บทความต้องจัดวางให้อ่านง่าย ตรงนี้ให้เราลองใช้เซ้นส์ของเราดูว่าเราควรจัดวางยังไงให้บทความดูสบายตาและอ่านง่าย 

เบื้องต้นก็อาจจะเน้นตรงที่ไม่ควรเขียนติดกับเป็นพรืดๆ เยอะเกินไป เว้นบรรทัดเสมอเมื่อขึ้นใจความใหม่ ไม่ลืมวางตำแหน่งรูปให้เหมาะสม ใช้ H2, H3 หรือ Bullet points เป็นต้น

12. อย่าลืมตั้งค่าการแสดงผลบน Social Media โดยให้กดเลือกแถบ Social ตามรูปที่แสดงด้านล่าง แล้วตั้งค่าว่าเราต้องการให้แสดงผลยังไง 

โดยจะมีการแสดงผลใน Facebook กับ Twitter ให้ตั้งค่า ใส่ Title กับ Description พร้อมแนบรูปเพื่อการแสดงผลที่สวยงาม

ตามคำแนะนำจะเห็นว่าขนาดของรูปที่แนะนำควรมีขนาด 1200 X 630 pixels สำหรับ Facebook

ตามคำแนะนำจะเห็นว่าขนาดของรูปที่แนะนำควรมีขนาด 1024 X 512 pixels สำหรับ Twitter

เช็คหน้าตาการแสดงผลจาก Snippet Preview

เมื่อเราปรับแต่งทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยจนได้หน้ายิ้มไฟเขียวมาสองดวงมาตามรูปแล้ว ก็ลองมาเช็คความเรียบร้อยจาก Snippet Preview กันค่ะ

ตัวอย่างข้างต้นจะเป็นการแสดงผลสำหรับผู้ใช้มือถือ

ตัวอย่างข้างต้นจะเป็นการแสดงผลสำหรับผู้ใช้เดสก์ท็อป

ได้เวลาลงมือทำ

เห็นไหมว่าการใช้ปลั๊กอิน Yoast SEO ทำให้การปรับแต่งให้โพสมีความเป็นมิตรกับ SEO นั้นทำให้เราทำงานสะดวกขึ้นเป็นกอง ตัวปลั๊กอินจะคอยช่วยเตือนว่าเรายังขาดเหลืออะไรตรงไหน แล้วเราก็ปรับไปตามที่ตัวปลั๊กอินบอกเรา ง่ายๆ แค่นี้เอง เห็นแบบนี้แล้วอย่ารอช้า ลองโหลดปลั๊กอินมาใช้กันดูเลย!

บริการ SEO ของ Search Studio

Search Studio ให้บริการรับทำ SEO เพื่อช่วยเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยเน้นคุณภาพและประสิทธิพลในระยะยาวเป็นที่ตั้ง ด้วยกลยุทธ์ที่ออกแบบให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ ตั้งแต่การ research เพื่อหากลุ่มของ keywords ที่จำเพาะกับกลุ่มเป้าหมาย ให้คำปรึกษาในการตกแต่งเว็บไซต์และการเผยแพร่บทความที่จะช่วยทั้งในเรื่องของอันดับใน Google และช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ด้วยเครื่องมือขั้นสูง โดยมีการติดตามผลลัพธ์การทำงานและวัดผลอย่างต่อเนื่อง

Written By

Pannakan Warawattananon
เริ่มเข้าสู่สายงานนี้จากการเป็น Link builder ตัวเล็กๆ ที่ร่างไม่เล็กนัก ผ่านมา 4 ปีแล้วจาก Day 1 ยังพยายามเพิ่มพูนทักษะในสายงาน Digital Marketing อยู่เสมอ ติดบ้านแบบแงะออกยาก ชอบอ่านหนังสือ แต่สะสมไฟล์ epub มากกว่าหนังสือจริง ชอบฟัง Podcast หลงใหลใน Pop culture และการเขียนเรื่องสั้น สนใจเรื่อง Productivity เพราะเชื่อว่าเมื่อเรา Productive การทำงานจะเป็นเรื่องสนุก พูดคุยกับ Gigi ที่ LinkedIn

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Views

Get New Articles Monthly!

Recommend Article

Free SEO
Consultation

Claim your revenue growth strategy session valued at ฿35,000 – absolutely FREE!

Limited spots available !

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.