ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์นั้น เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญ ที่จะทำให้ธุรกิจของเราปรากฎสู่สายตาของผู้คนในหน้าค้นหาของ Google หรือ Search Engine ได้มากขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจเพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ที่กำลังสนใจ ได้คลิกเข้ามายังเว็บไซต์ของเราได้มากขึ้น ซึ่งการทำ SEO นั้นล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ใคร ๆ ต่างก็ทำกัน แต่การจะทำ SEO ให้ออกมาดีและมีประสิทธิภาพนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องให้ความสำคัญ และหนึ่งในนั้นคือวิธีการทำ SEO Audit นั่นเอง ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึง SEO Audit ตัวช่วยที่จะทำให้หน้าเว็บไซต์ของคุณนั้นเจิดจรัสเปล่งประกาย และติดอันดับต้น ๆ ในหน้าค้นหาของ Search Engine อยู่เสมอกันค่ะ
SEO Audit คืออะไร?
สำหรับ SEO Audit หากจะกล่าวให้เข้าใจโดยง่าย ๆ ก็คือการตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยจะเป็นการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา เพื่อเน้นให้เว็บไซต์นั้นมีความถูกต้องตามหลักของ SEO ทุกประการ ซึ่งการที่เว็บไซต์ของเราทำออกมาได้ดีตรงตามความต้องการของ SEO ก็จะทำให้หน้าเว็บไซต์นั้น ๆ สามารถขึ้นไปติดอันดับต้น ๆ ในหน้าค้นหาของ Search Engine ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น สามารถขึ้นไปอยู่หน้าแรกในหน้าค้นหาของ Google ได้อย่างสม่ำเสมอตามที่ต้องการ เรียกได้ว่าเป็นการตรวจเช็คสุขภาพของเว็บไซต์ หรือ Website Audit เพื่อให้อยู่ในสภาพที่พร้อมและสมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการติดอันดับในหน้าค้นหาที่ดีกว่านั่นเองค่ะ
วิธีการทำ SEO Audit
วิธีการทำ SEO Audit หรือการตรวจสุขภาพเว็บไซต์นั้น จะมีจุดที่ควรให้ความสำคัญอยู่ด้วยกันทั้งหมด 10 ข้อ ดังนี้
1. การทำ SEO Audit Report
เมื่อเราต้องการที่จะเริ่มทำ SEO Audit อันดับแรกเลยก็คือให้ทำ SEO Audit Report กันก่อนค่ะ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะทำให้เรามองเห็นภาพรวมได้ว่าควรจะทำ Website Audit หรือ SEO Audit กันที่จุดไหน โดยสามารถทำการตรวจสอบ Performance ของเว็บไซต์ได้โดยใช้เครื่องมือ Google Analytics และ Google Search Console ไม่ว่าจะเป็นยอดของคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือ Traffic การตรวจเช็ค Conversion Rate การตรวจเช็ค Keyword Ranking ไปจนถึงการตรวจเช็ค Backlink ที่มีคุณภาพ เพื่อที่จะได้ทำ SEO Audit ของเว็บไซต์นั้น ๆ ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. ทำ On-Page SEO Audit
เป็นการปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าตา Search Engine ให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะได้รับการจัดอันดับในหน้าค้นหาที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ Keyword ในแต่ละหน้าเพจอย่างประสิทธิภาพ มีการใส่ Keyword ในตำแหน่งต่าง ๆ ที่เหมาะสม ถูกต้อง เพื่อทำให้ Search Engine เข้าใจเว็บไซต์ของเรา และแสดงผลการค้นหามายังเว็บไซต์ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังควรมีการใส่ Internal Link หรือลิงก์เชื่อมโยงไปยังเนื้อหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ การใส่ External Link เพื่อเชื่อมโยงออกไปนอกเว็บไซต์ อันเป็นแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ รวมไปถึงการทำ ALT Text ให้กับรูปภาพที่นำมาใช้ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการค้นหาแบบ Image Search ได้มากขึ้น
3. การทำ Technical SEO Audit
เป็นการปรับปรุงปัจจัยต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ เพื่อทำให้ Bot ของ Search Engine สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย รู้ว่าเว็บไซต์มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร มีความเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันอย่างไร การทำ Schema Markup เพิ่มข้อมูลให้กับเว็บไซต์ การทำแผนที่เว็บไซต์หรือแผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) การทำ Robot.txt เพื่อกำกับให้ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลในหน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการ และห้ามไม่ให้เข้าไปเก็บข้อมูลในหน้าที่ไม่ต้องการเปิดเผย รวมไปถึงการทำ Redirect 301 เพื่อป้องกันการเกิดหน้า 404 not found และการทำ Canonical Tag เพื่อให้ Search Engine ทราบว่าเว็บไซต์ไหนคือต้นฉบับของจริง เป็นต้น
4. การทำ Backlink หรือ Off-Page SEO Audit
เป็นการทำ SEO Audit นอกเหนือจากในเว็บไซต์ โดยเป็นการทำ Backlink จากที่อื่น ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ Keyword หลักบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งอาจจะเป็นการแลกลิ้งก์กับคู่ค้าหรือพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ การซื้อโฆษณาจากเว็บไซต์ใหญ่ ๆ เพื่อให้เขียนถึงเว็บไซต์ของคุณ และมีการทำ Backlink มายังหน้าเว็บไซต์หลัก แต่ถ้าหากเจอว่าเป็น Bad Backlink ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการทำเว็บไซต์ เช่น ทำให้อันดับค้นหาตก ยอดคลิกลดลง เป็น Backlink ที่อยู่ในเนื้อหาแบบ Low-quality Content ต้องทำการกำจัดลิงก์ไม่ดีเหล่านั้นออกไปให้หมดค่ะ
5. ปรับปรุงเว็บไซต์เพื่อ User Experience (UX) ที่ดี
ควรปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดูง่าย ใช้งานสะดวก เพื่อให้ผู้เข้ามายังเว็บไซต์เกิดความประทับใจ และอยู่ในหน้าเว็บไซต์นานขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบและปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ให้สวยงาม อ่านง่าย สะอาดตา เป็นหมวดหมู่ใช้งานง่าย ปรับปรุง On-Page ของเว็บไซต์ การปรับ Page Speed ให้สามารถแสดงหน้าเว็บได้เร็วขึ้น การรองรับการแสดงผลได้กับทุกอุปกรณ์ เป็นต้น
6. การทำ Content Audit
ในส่วนนี้เป็นการสร้างหรือปรับปรุงคอนเทนต์ที่มีในเว็บไซต์ หรือการเขียนคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ และสามารถทำให้ปรากฏขึ้นไปอยู่บนหน้าค้นหาได้ดีขึ้น โดยควรที่จะหยิบเอา Keyword ของเว็บไซต์มาปรับใช้กับคอนเทนต์ได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญคือแนะนำให้ใส่ Keyword ในลักษณะ Long-Tail Keyword เพิ่มเข้ามาในบทความกันค่ะ เพราะจะช่วยทำให้คอนเทนต์หรือบทความนั้นมีความจำเพาะเจาะจง มีความสดใหม่มากยิ่งขึ้น และมีโอกาสทำอันดับในส่วนของ Long-Tail Keyword ได้มากขึ้น
7. การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis)
ดังคำกล่าว “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ดังนั้นการทำ SEO Audit อย่าลืมที่จะวิเคราะห์คู่แข่งกันด้วยค่ะ ดูว่าคู่แข่งนั้นติดอันดับด้วย Keyword แบบไหน ดูว่าเราสามารถทำได้ดีกว่าคู่แข่งหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถนำเอา Keyword ของคู่แข่ง มาปรับใช้กับบทความ SEO ของเว็บไซต์ ก็สามารถช่วยให้เราสามารถเลือกใช้ Keyword ที่มีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาไปทำ Keyword Research กันอีกด้วย
8. ตรวจเช็คความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ (Security)
สำหรับผู้ใช้งาน ความปลอดภัยเมื่อกดลิงก์เข้าไปยังเว็บไซต์หนึ่ง ๆ เป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องสำคัญที่คนทำเว็บไซต์ต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งการทำเว็บไซต์ให้ปลอดภัย อันดับแรกเลยคือต้องทำ Secure Socket Layer หรือ SSL เพื่อให้เว็บไซต์มีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน ถูกดักจับข้อมูลได้ยากขึ้น ซึ่งถ้าหากเว็บไซต์ของเรายังคงมีคำว่า not secure ที่ด้านหน้าของชื่อ URL นอกจากจะทำให้เว็บไซต์ของเราดูไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้งานไม่กล้ากดลิงก์เข้ามา ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอีกด้วยค่ะ
9. การทำ Mobile Friendly
ในปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่นิยมท่องเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์มือถือด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ดังนั้นการทำให้เว็บไซต์สามารถเปิดและใช้งานได้บนอุปกรณ์มือถือได้อย่างสะดวก มีการจัดหน้าเว็บไซต์ที่พอดี ก็จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาท่องเว็บไซต์ของเราได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งเว็บไซต์ไหนที่ไม่ได้ทำ Mobile Friendly ก็อาจจะทำให้อันดับการค้นหาตกลงไปได้ค่ะ
10. เช็คคะแนน Page Speed ของเว็บไซต์
หลายครั้งที่เวลาเรากดลิงก์หรือ URL เข้าไป แต่หน้าเว็บไซต์โหลดขึ้นมาช้า คนส่วนใหญ่อาจเลือกปิดหน้าเว็บไซต์ไปเลยโดยที่ไม่รอก็ได้ ดังนั้นการเช็ค Page Speed ของเว็บไซต์จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญในการทำ SEO Audit โดยทำการแก้ไขปัญหาที่จะทำให้หน้าเว็บโหลดช้าออกไป เช่น การเลือกใช้ Hosting ที่มีคุณภาพ การใช้ไฟล์รูปที่มีขนาดเล็ก ไม่ใส่พวก Effect ต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์มากจนเกินไป เลือกติดตั้ง Plug-in เท่าที่จำเป็น เลือกการแสดงผลโดยใช้ Google Fonts รวมไปถึงการลบโค้ด CSS หรือ JavaScript ที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อทำให้หน้าเว็บไซต์ของเราแสดงผลได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นค่ะ
เครื่องมือที่ใช้ในการทำ SEO Audit
ในการทำ SEO Audit จำเป็นที่จะต้องมีการใช้เครื่องมือ เพื่อเข้ามาช่วยตรวจสอบคุณภาพทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงเว็บไซต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนิยมใช้เครื่องมือต่าง ๆ ดังนี้
1. Google Search Console
เป็นเครื่องมือที่ช่วยใช้วัดการเข้าชมและประสิทธิภาพของเว็บไซต์ในหน้าค้นหาของ Google ช่วยดูอันดับว่าคำค้นหาหรือ Keyword ไหนที่ทำให้ผู้เข้าชมคลิกเข้ามาดูเว็บไซต์ และช่วยดูแลแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในเว็บไซต์เมื่อ Google พบปัญหาในเว็บไซต์หรือ URL ที่มีปัญหา
2. Google Analytics
เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูประสิทธิภาพของเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น เพื่อให้สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของการตลาด เนื้อหา ผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกจาก Google เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังสามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ด้านการโฆษณา และการเผยแพร่โฆษณาของ Google เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกไปใช้ในการสร้างผลลัพธ์ที่ดีด้านธุรกิจ
3. SEO Tools
เช่น Ahrefs ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับทำ SEO ที่ครอบคลุมและครบถ้วนรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น Technical Audit การเช็ค Backlink การทำ Keyword Research การดู Domain Rating รวมไปถึงการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง การเช็ค Ranking การหาหาคีย์เวิร์ดทำ YouTube และอื่น ๆ
4. Page Speed Insight
เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความเร็วของเว็บไซต์ ซึ่งสามารถใช้เช็คได้ทั้งบนมือถือและคอมพิวเตอร์ PC พร้อมบอกปัญหาและคำแนะนำ เพื่อปรับปรุงให้เว็บไซต์ดียิ่งขึ้น
บทส่งท้าย
จะเห็นได้ว่าการทำ SEO Audit คือการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ในจุดต่าง ๆ เพื่อให้ตรงเสปคของ Google หรือ Search Engine ให้ได้มากที่สุด ซึ่งการทำ SEO Audit อย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะเป็นการอัปเดตข้อมูลและทำให้เว็บไซต์มีความสดใหม่อยู่เสมอแล้ว ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กร และช่วยให้อันดับการค้นหาใน Search Engine ดีขึ้นได้อีกด้วยค่ะ